Software website : http://bio-bwa.sourceforge.net/
GitHub : https://github.com/lh3/bwa
ตัวอย่าง script ในการ submit job
1. การทำ build index
1.1 การทำงานบน compute node
#!/bin/bash #SBATCH -p compute #SBATCH -N 1 -c 1 #SBATCH -t 24:00:00 #SBATCH -J BWAjob #SBATCH -A projxxxx module purge module load BWA/0.7.17-intel-2019b bwa index ref.fa
ตัวอย่างด้านบนจะเรียกใช้งานทรัพยากรจำนวน 1 node (-N 1
) ใช้ 1 cores (-c 1
) รวมใช้ 1 cores เนื่องจากเพิ่มจำนวน cores ที่ใช้จะไม่ทำให้ทำ indexing ได้เร็วขึ้นจึงกำหนดไว้ที่ 1 core
ทั้งนี้การใช้ compute node จะได้ RAM 4 GB ต่อการใช้งาน 1 CPU core หากมีความต้องการใช้งาน RAM ที่มากขึ้นสามารถเพิ่มจำนวน core หรือเปลี่ยนไปใช้งาน memory partition ได้
1.2 การทำงานบน memory node
#!/bin/bash #SBATCH -p memory #SBATCH -N 1 -c 1 #SBATCH --mem=8GB #SBATCH -t 24:00:00 #SBATCH -J BWAjob #SBATCH -A projxxxx module purge module load BWA/0.7.17-intel-2019b bwa index ref.fa
ตัวอย่างด้านบนจะเรียกใช้งานทรัพยากรจำนวน 1 node (-N 1
) ใช้ 1 cores (-c 1
) และ RAM 8 GB (--mem=8GB
)
2. การทำ mapping
#SBATCH -p memory #SBATCH -N 1 -c 48 #SBATCH -t 24:00:00 #SBATCH -J BWAjob #SBATCH -A projxxxx module purge module load BWA/0.7.17-intel-2019b bwa mem -t $SLURM_CPUS_PER_TASK ref.fa reads.fq > aln-se.sam
ตัวอย่างด้านบนจะเรียกใช้งานทรัพยากรจำนวน 1 node (-N 1
) ใช้ 48 cores (-c 48
) และในส่วนของ bwa mem กำหนดจำนวน threads ให้เท่ากับจำนวน cores ที่เรียกใช้ (-t $SLURM_CPUS_PER_TASK
)